วิทยาการคำนวณ
วิทยาการคำนวณ
🤔ทักษะการคิด 🏸ทักษะการค้นหา 💻ทักษะการใช้สื่อ 🎗ทักษะรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยี
การแก้ปัญหา (Problem Solving)
คือ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อหาคำตอบหรือแนวทางจัดการกับสถานการณ์ที่ซับซ้อนเริ่มจากการ เข้าใจปัญหา → วางแผน → ลงมือทำ → ตรวจสอบผลลัพธ์ เช่น การวางแผนเส้นทางเดินจากบ้านไปโรงเรียนให้เร็วที่สุด
ในวิทยาการคำนวณ เราฝึกแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลและกระบวนการคิดเชิงคำนวณช่วยให้คิดเป็นระบบ และพร้อมประยุกต์ใช้การแก้ปัญหาต่างๆกับโจทย์ในชีวิตประจำวัน
👍 credit : เอกสารเรียนรู้ , สื่อการเรียนรู้ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
คือการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยกัน และมีการสื่อสารกันได้ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และแท็บเล็ต เพื่อใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย เช่น Router, Wi-Fi, Computer, Printer, LAN Cable อินเทอร์เน็ตช่วยให้เรา ค้นหาความรู้ สื่อสาร ส่งงาน ดูวิดีโอ ข่าวสาร หรือ สร้างรายได้ออนไลน์ได้ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ได้แก่ Google Chrome, Microsoft Edge, Safari เป็นต้น
การค้นหาข้อมูล ควรค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือ มีการเปรียบเทียบข้อมูลหลายแหล่งอ้างอิง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ เช่น เว็บไซต์ของโรงเรียน หรือหน่วยงานราชการ องค์กรบริษัทที่ให้ข้อมูลเฉพาะทาง ประเภทข้อมูลที่ค้นได้ เช่น ข้อความ (Text), รูปภาพ (Images), วิดีโอ (Videos)
การใช้อินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่ายต้องคำนึงถึงปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เปิดเผยรหัสผ่าน หรือ ข้อมูลส่วนตัว และ กรณีเพบเว็บไซต์หรือข้อความที่ไม่เหมาะสมแจ้งคุณครู หรือผู้ปกครองรับทราบทันที่ (คำศัพท์ควรรู้: Network, Internet, Browser, Search, Safety, Share, Connect)
👍 credit : เอกสารเรียนรู้ , สื่อการเรียนรู้ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
การรวบรวมข้อมูลและซอฟต์แวร์ประยุกต์
การรวบรวมข้อมูล คือการเก็บข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น การสำรวจจากเพื่อน ๆ การสังเกต หรือการค้นจากอินเทอร์เน็ต
การนำเสนอข้อมูล คือการจัดข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจง่าย เช่น ทำตาราง ภาพ หรือสไลด์
ผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์ แบ่งเป็นข้อดีและข้อเสียข้อดี เช่น ช่วยทำงานรวดเร็วขึ้น ประหยัดเวลา ต้นทุนสำหรับงานบางประเภท
ข้อเสีย เช่น ใช้เวลาหน้าจอมากเกินไป ควรแบ่งเวลาให้เหมาะสมในการใช้งาน และ พักสายตาเพื่อป้งกันปัญหาสุขภาพสายตาหรืออื่นๆ
โปรแกรมประมวลผลคำ เช่น Microsoft Word ใช้พิมพ์รายงาน ใส่ภาพ หรือจัดหน้าเอกสารให้สวยงาม
โปรแกรมตารางงาน เช่น Microsoft Excel ใช้บันทึกข้อมูล ทำตาราง คำนวณ หรือเปรียบเทียบข้อมูล
การใช้ซอฟต์แวร์ควรใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และใช้อย่างมีความรับผิดชอบ
🔹 Microsoft Word ใช้พิมพ์งาน เขียนจดหมาย หรือทำใบงาน
คำศัพท์ที่ควรรู้:
Text (ข้อความ): ตัวหนังสือที่เราพิมพ์
Font (ฟอนต์): แบบตัวอักษร
Bold (ตัวหนา), Italic (ตัวเอียง), Underline (ขีดเส้นใต้)
Insert Picture (แทรกรูปภาพ)
🔹 Microsoft Excel ใช้สร้างตาราง บันทึกข้อมูล และคำนวณ
คำศัพท์ที่ควรรู้:
Cell (เซลล์): ช่องเล็ก ๆ ที่ใส่ข้อมูล
Row (แถว), Column (คอลัมน์)
Chart (แผนภูมิ): ใช้นำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ
Sum (รวม): คำสั่งบวกตัวเลขในตาราง
👍 credit : เอกสารเรียนรู้ , สื่อการเรียนรู้ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
การทำงานของคอมพิวเตอร์ คือการทำตามคำสั่งทีละขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
การเขียนโปรแกรมโต้ตอบกับผู้ใช้ คือการสร้างคำสั่งให้ผู้ใช้เลือกหรือกรอกข้อมูล เช่น ตอบคำถามในเกม ตอบแบบฟอร์มแบบสำรวจข้อมูล หรือโปรแกรมแชท ต่างๆ ที่มีระบบการสื่อสารสองทางมีการโต้ตอบที่รวดเร็ว ข้อมูลถูกต้อง
อัลกอริทึม (Algorithm) คือขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือการทำงาน อย่างเป็นระบบ ขั้นตอน และสามารถออกแบบได้ ตามลักษณะ วัตถุประสงค์ที่ต้องการออกแบบใช้งาน เช่น วาดแผนภาพเส้นทางจากบ้านไปโรงเรียน หรือ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญอัติโนมัติ เป็นต้น
โปรแกรม Scratch เป็นเครื่องมือช่วยสร้างโปรแกรมโดยใช้บล็อกคำสั่งลากและวางต่อกัน เพื่อให้ได้โปรแกรมตรงกับอัลกอรึทึมที่ออกแบบไว้ เพื่อให้โปรแกรมทำงานได้ตรงความต้องการ
ตัวอย่างเช่น: สร้างเกมให้แมววิ่งตามลูกบอล หรือให้ตัวละครทักทายผู้เล่น
คำศัพท์ที่ควรรู้ใน Scratch:
Block (บล็อกคำสั่ง)
Sprite (ตัวละคร)
Stage (ฉาก)
Script (ชุดคำสั่ง) เป็ยต้น
การเขียนโปรแกรมช่วยให้เราคิดเป็นระบบ และแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ และมีทักษะการทำงานที่เป็นระบบขั้นตอน
👍 credit : เอกสารเรียนรู้ , สื่อการเรียนรู้ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือ การใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในการสื่อสาร ค้นหาข้อมูล และทำงาน
พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen) คือ ผู้ใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ เคารพผู้อื่น และรู้เท่าทันสื่อออนไลน์
ความรับผิดชอบของพลเมืองดิจิทัล คือ ไม่รังแกผู้อื่นออนไลน์ ไม่ลอกงาน ไม่แชร์ข้อมูลเท็จ
การรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล คือ การรู้จักคิดก่อนเชื่อข้อมูล และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์
ตัวอย่าง: ไม่ให้รหัสผ่านกับใคร ไม่คลิกลิงก์แปลก ๆ และแจ้งผู้ใหญ่เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ
Cyberbullying คือ การรังแกผู้อื่นทางออนไลน์ เช่น พิมพ์ข้อความหยาบคาย ล้อเลียน หรือส่งภาพไม่เหมาะสมการกระทำเช่นนี้ผิดกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มีโทษปรับหรือจำคุกได้
ความรับผิดชอบของพลเมืองดิจิทัล คือ ไม่โพสต์ ไม่แชร์ และไม่แกล้งผู้อื่น
การรู้เท่าทันเทคโนโลยี คือ การคิดก่อนคลิก ตรวจสอบข้อมูลก่อนเชื่อ
ตัวอย่าง: ถ้าเห็นเพื่อนโดนแกล้งออนไลน์ ควรบอกครูหรือพ่อแม่ทันที
คำศัพท์ควรรู้:
Information (ข้อมูล)
Internet (อินเทอร์เน็ต)
Privacy (ความเป็นส่วนตัว)
Cyberbullying (การรังแกทางออนไลน์)
Digital Citizen (พลเมืองดิจิทัล)
Cyberbullying (การรังแกทางออนไลน์)
Digital Safety (ความปลอดภัยทางดิจิทัล)
Privacy (ความเป็นส่วนตัว)
Law (กฎหมาย)
👍 credit : เอกสารเรียนรู้ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)